วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



กิจกรรมที่5
คุณครูนวลน้อย ทิมกุล

    ในขณะที่หลายๆ คนอาจช่วยเหลือผู้อื่นที่มีความเดือนร้อน ต่อเมื่อตนเองพร้อมทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์ แต่คุณครู นวลน้อย ทิมกุล ซึ่งเป็นที่เรียกขานกันสั้นๆ ว่า "ครูน้อย" ได้หยิบยื่นความช่วยเหลือแก่เด็กด้อยโอกาส ทั้งที่ตนเองป่วยเป็นอัมพฤกษ์ และขาดแคลนทุนทรัพย์ ซ้ำยังได้สืบสานงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานับสิบปี จน "บ้านครูน้อย" ได้รับการรับรองจากรมประชาสงเคราะห์ ให้เป็นสถานสงเคราะห์เด็กยากจน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และดำเนินการช่วยเหลือเด็กยากไร้ และเด็กด้อยโอกาส มาถึงปัจจุบัน
ประวัติและผลงาน
    ครูน้อยเติบโตจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน จึงมีประสบการณ์ที่ช่วยให้เข้าใจความลำบากเดือดร้อนของเด็กๆ ที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษา และขาดความพร้อม แม้เพียงปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ครูน้อยมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้ ให้พ้นจากสภาวะวิกฤตของชีวิต และเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของประเทศในวันข้างหน้า เธอจึงทุ่มเทแรงกาย และแรงใจในการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้ โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและความกดดันรอบด้าน
     ครูน้อยเริ่มการช่วยเหลือเด็กๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ในขณะที่ เธอป่วยเป็นอัมพฤกษ์ที่ขา ต้องพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน หลังเล็กๆ ในซอยราษฎร์บูรณะ 26 เขตธนบุรี ทำให้ได้เห็นลูกๆ ของกรรมกรที่วิ่งเล่นตามร่องสวน โดยไม่มีโอกาสรับการศึกษาภาคบังคับ เพราะฐานะยากจน และเพราะขาดหลักฐานที่จำเป็น เช่น สูติบัตร และทะเบียนบ้าน ครูน้อย จึงเปิดบ้านของตนให้เป็นที่พักพิงของเด็กๆ เหล่านี้ แบ่งปันอาหารให้อิ่มท้อง และสอนให้เรียน เขียน อ่าน ขั้นพื้นฐาน ความมีน้ำใจของครูน้อยเป็นสิ่งที่เล่าขานต่อๆ กัน ทำให้มีผู้นำลูกหลานมาฝากให้ "เลี้ยงดู" มากขึ้น เรื่อยๆ ทั้งที่ครอบครัวของเธอมีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายเป็นหลายร้อยเท่า ทำให้ครูน้อยมีภาระหนี้สิน เพื่อมาจ่าย ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ตามมาเป็นจำนวนมาก
      ประมาณสิบปีให้หลัง เรื่องราวของครูน้อยเริ่มแพร่หลายโดยสื่อมวลชน องค์กร มูลนิธิ และกลุ่มบุคคลต่างๆ จึงเริ่มให้ความช่วยเหลือ "บ้านครูน้อย" ในด้านกำลังทรัพย์และสิ่งของและช่วยผลักดันให้สถานศึกษาภาครัฐให้โอกาส เด็กๆ ที่ขาดหลักฐานประกอบการศึกษา ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับ โดยได้รับการยกเว้นในเรื่องหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ
     นับแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึง ปัจจุบัน ครูน้อยได้ช่วยเหลือเด็กที่มีฐานะยากจน เด็กที่พ่อแม่ต้องโทษจำคุก และเด็กเร่ร่อน ให้มีโอกาสทางการศึกษา และมีสิทธิที่จะรับการศึกษาภาคบังคับเท่าเทียมกับเด็กอื่นๆ เป็นจำนวนถึง 800 กว่าคน ปัจจุบันมีเด็กในความดูแลของ "บ้านครูน้อย" จำนวน 128 คน มีทั้งหญิงและชาย ระหว่างอายุ 6-18 ปี ในจำนวนนี้มีเด็กที่กำลังเรียนในสถานศึกษาต่างๆ 98 คน นอกนั้นเป็นเด็กเล็ก หรือเด็กพิการซ้ำซ้อน หลายคนในจำนวนนี้กลับไปพักที่บ้านของตนในเวลากลางคืน แต่ก็ยังมีเด็กอีกจำนวนไม่น้อย ที่พักอาศัยที่ "บ้านครูน้อย" และที่บ้านเช่า ซึ่งครูน้อยรับภาระค่าเช่าบ้าน เพื่อให้เด็กๆ ได้มีที่นอนอย่างปลอดภัย
   บุคลากรที่ช่วยครูน้อยดูแลเด็ก ปัจจุบันมีอยู่ 10 คน เป็นครู 4 คน และมีเจ้าหน้าที่บริการอีก 6 คน แบ่งเป็น 2 ผลัด
   งานของครูน้อย มิได้จำกัด อยู่แต่ที่ "บ้านครูน้อย" แต่ยังมีการประสานความร่วมมือกับมูลนิธิ และองค์กรต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด เช่น มูลนิธิสิธาสินี โรงเรียนศรีนาถสยาม โรงเรียนศรีวรา เป็นต้น
  ในวันธรรมดาหลังเวลาเรียน และวันสุดสัปดาห์ และวันนักขัตฤกษ์ รวมทั้งช่วงเวลาปิดภาคเรียน จะมีกลุ่มบุคคลมาบริจาคสิ่งของ และค่าใช้จ่าย หรือจัดเลี้ยงอาหารในวาระต่างๆ และมีกลุ่มอาสาสมัคร จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร มาจัดกิจกรรมบันเทิง และกิจกรรมวิชาการ แก่เด็กๆ ที่บ้านครูน้อย เช่น การสอนศิลปะ สอนดนตรี เช่น กีตาร์ สอนคอมพิวเตอร์ หรือสอนภาษาอังกฤษ รวมทั้งกิจกรรมเสริมวิชาชีพ เช่น การทำเทียน ให้แก่เด็กๆ ซึ่งถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์และการแบ่งปันน้ำใจและรอยยิ้ม ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทัศนคติให้เป็นเชิงบวก ซึ่งจะมีผลให้เขาทั้งหลายได้เติบโตเป็นคนดีของสังคมในวันข้างหน้า ตามเจตนารมณ์ของครูน้อย ที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ผู้ปรารถนาให้ศิษย์มีความสุขความเจริญ โดยไม่เคยคาดหมายสิ่งใดเป็นการตอบแทน

ผลงานของครูที่นักเรียนชอบ

 เปิดบ้านให้เด็กยากจน เด็กขาดโอกาสให้ได้มีโอกาสในการศึกษาและมีอนาคตที่ดีขึ้น



นักเรียนประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
    ในการเป็นครูที่ดีต้องรักและเอาใจใส่เด็กนักเรียนหวังดีและทุ่มเทที่จะสอนวิชาความรู้ของตนเองถ่ายทอดให้แก่ศิษย์อย่างเต็มที่และทำไปโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน


วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 4
สรุป เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีม  จะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร  และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียวเพราะทุกคนจะได้ช่วยกันคิดช่วยกันดูและตรวจสอบความถูกต้องของงานให้ออกมาดีที่สุด  แต่การสร้างทีมงานนั้นต้องใช้ เวลา ในการพัฒนาบุคคล  และพัฒนาทีมงานพอสมควร จึงจะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับได้
ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม
1. วิเคราะห์งาน
2. กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
3. วางแผนการทำงาน
4. แบ่งงานให้สมาชิกของทีม
5. ปฏิบัติจริงตามแผน
6. ติดตามผลและนิเทศงาน
7. ประเมินขั้นสุดท้าย
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน  เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญหา  สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน  ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์  ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา  มีการพัฒนาตนเอง  รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน  และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี
ตอบคำถาม เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
 1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
     การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
     ยอมรับข้อเสนอของผู้อื่น
     แรงจูงใจของมนุษย์
        -ความต้องการที่จะมีชื่อเสียง
        -ความต้องการทางสังคม
2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
        การที่จะทำให้ทีมมีประสิทธิภาพจะต้องรู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงานและสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดีทุกคนรู้จักทำงานตามความรับผิดชอบของตน และสมาชิกต้องทุ่มเทกำลังกาย ความคิด  เพื่องานจะได้ประสบความสำเร็จ  และทุกคนจะต้องตระหนักเสมอว่างานที่ที่สำเร็จนั้นเป็นผลงานของทีม ไม่ใช่ผลงานของคนใดคนหนึ่ง และภูมิใจในงานที่ออกมาตัวอย่างเช่น การเล่นวอลเลย์บอล จะประสบความสำเร็จ จะชนะคู่แข่งได้ต้องมีความร่วมมือกันช่วยเหลือกัน ทำงานกันเป็นทีมมีความสามัคคีและต้องทุมเททั้งแรงกายแรงใจถึงจะประสบความสำเร็จและชนะคู่แข่งได้

กิจกรรมที่  3


1. การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน  เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร
ในยุคก่อนศตวรรษที่ 21
        การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียน ผู้มีความรู้ความสามารถจะเป็นผู้ถ่ายทอด มนุษย์ไม่รู้จักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง คนที่สามารถจดจำได้มาก ก็จะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่จดจำได้น้อย
 ยุคศตวรรษที่  21
      การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่งทุกที่และก็ทุกเวลา มนุษย์จะต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จักการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง  และการศึกษาก็เป็นกิจกรรมตลอดชีวิตไม่สินสุด


2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
        ครู จะต้องเป็นนักเทคโนโลยีสารสนเทศไปในตัว เป็นเทคโนโลยีที่เป็นสหายสนิทกับการศึกษาในปัจจุบัน  ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านนี้ทั้งสิ้นจะต้องเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ อันเป็นภาษาสากลภาษาเดียวที่ช่วยถอดรหัสความรู้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งปวง  ไม่ว่าจะเป็น "อินเทอร์เน็ต" "มัลติมีเดีย" หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการเข้าไปสู้ประชาคมอาเซียนในวันข้างหน้าและจะต้องติดตามความก้าวหน้าในเทคนิควิธีการสอนต่างๆอยู่ตลอดเวลา และจะต้องพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต