วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555


สมาคมอาเซียน
                ประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Communityประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510)สิงคโปร์ (2510) อินโดนีเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียดนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัมพูชา (2542)   มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจที่โตมาก  ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา คือ
                1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
                2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
               1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
                2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
                3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น 
                4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว

ประเทศไทย
                ประเทศไทยของเราอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน มีประเทศสมาชิกรวมกัน 10 ประเทศ และกำลัง                ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของ สินค้า (Free flow of goods) แรงงานฝีมือ (Free flow of skilled labor) การบริการ (Free flow of services) การลงทุน (Free flow of investment) เงินทุน (Free flow of capital)
              ในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ นั้น หลายท่านอาจจะยังงงๆอยู่ว่าจะเป็นอย่างไร จะเตรียมตัวอย่างไร เกิดความวิตกถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการประกอบวิชาชีพของตัวเอง โดยเฉพาะท่านที่ประกอบวิชาชีพเฉพาะ คือเป็นวิชาชีพที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพหรือใบประกอบโรคศิลปะ จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (Department of Trade Negotiations) ของไทย มีความชัดเจนในกลุ่มวิชาชีพที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ โดยมีการจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) แล้ว เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบวิชาชีพของแต่ละประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอาเซียน ซึ่งสามารถไปทำงานในประเทศสมาชิกต่างๆได้
จนถึงขณะนี้มี MRAs ทั้งหมด 7 สาขาวิชาชีพได้แก่   วิศวกรรม(Engineering Services)      พยาบาล         (Nursing Services)  สถาปัตยกรรม   (Architectural Services) การสำรวจ     (Surveying Qualifications)แพทย์            (Medical Practitioners)   ทันตแพทย์    (Dental Practitioners)   บัญชี (Accountancy Services)  โดยเพิ่ม การท่องเที่ยว เป็นสาขาที่ 8   ซึ่งต่อไปอาจเพิ่มสาขาวิชาชีพอื่นๆมากขึ้นอีกเป็น สิบ ยี่สิบ สามสิบ หรือมากกว่าก็ได้  เราจะเตรียมตัวอย่างไร  คำถามยอดฮิตคือ "เตรียมตัวอย่างไรในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน"

                พลเมืองไทย ยังไม่พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
                 การเกิดของประชาคมอาเซียนเป็นการค่อยๆเกิด ค่อยๆพัฒนา ค่อยๆเติบโต และค่อยเป็นค่อยไป เป็นกระบวนการที่ถูกปล่อยให้พัฒนาไปช้าๆมาแต่แรกเริ่ม แต่มาถูกเร่งให้เป็นรูปธรรมโดยตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2558/2015อาเซียน เวลาของการเตรียมพร้อมนั้นน้อยมาก ความตื่นตัวในหมู่ประชาชนไทยเองยังไม่ปรากฏ นอกเหนือไปจากการทำกิจกรรมในสถาบันการศึกษาจำนวนไม่มากนัก ยิ่งไปกว่านั้นก็ยังพบว่ารัฐบาลเองก็ยังไม่ตื่นตัว ยังไม่มีแผนยุทธศาสตร์ใดๆเลยในอันที่จะนำทางประชาชนไปสู่ประชาคมอาเซียน รัฐบาลปัจจุบันยังไม่ประกาศแผนปฏิบัติการส่วนของไทยในการไปสู่ประชาคมอาเซียนเลย
ดังนั้นภาคประชาชนจึงไม่มีทิศทางในการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรอย่างไร เมื่อไร และจะพึ่งใครได้ ถ้าต้องการข้อมูลข่าวสารเพื่อเตรียมตัวให้พร้อม     
 ประเทศเพื่อนบ้าน
                ใน 9 ประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนยกเว้นประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมการเปิดอาเซียนกันมากรัฐบาลมีการสนับสนุนการให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและที่ได้เปรียบกว่าคนไทยนั่นก็คือภาษาอังกฤษจากผลสำรวจประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรมีความสามารถาทงด้านภาษาอังกฤษน้อยที่สุด
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
                มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียนภายในโรงเรียน การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็กนักเรียนตลอดจนครูและบุลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 
การปรับเปลี่ยนเวลาเปิดและปิดภาคเรียนในสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับอาเซียน ในปี 2557 ทุกมหาวิทยาลัย น่าจะมีความพร้อมใน การปรับเวลาเปิดเทอมในทุกหลักสูตรให้พร้อมกันทั้งหมด ขณะเดียวกันทาง ทปอ.ก็จะมีการพิจารณาปรับเรื่องการแอดมิชชั่นและรับตรง เพื่อให้นักเรียนได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น จึงเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็ไม่จำเป็นต้องปรับ ระบบการเปิดปิดภาคเรียนตามไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น