กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความที่ 2
ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
จากบทความ ความเป็นครูพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น เปรียบเสมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นดั่งครูแห่งแผ่นดิน
ครูของประเทศชาติ ครูของประชาชนทุกคนที่เป็นพสกนิกรของท่าน
เพราะพระองค์ได้ทรงสอนถึงเรื่องการให้เราได้รู้จักถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ
สอนให้รู้จักการใช้ชีวิต รวมถึงการให้ความช่วยเหลือ เผื่อแผ่ถึงคนที่ทุกข์ยากลำบาก
เนื่องจากความเป็นครูของท่านที่ได้สั่งสอนประชาชนทุกคนนั้น ไม่มีตำราใด
ไม่มีมหาวอทยาลัยไหน ที่ได้สอนลึก เขาถึงเรื่องแบบนี้
ดังตัวอย่างโครงการมากมายที่ท่านได้ทรงคิดขึ้นมานอกจากท่านจะคิดแล้วท่านยังทำให้ดูอีกด้วย
ทรงทำให้เห็นว่าการเป็นครูนอกจากการเรียนการสอนนอกชั้นเรียนแล้ว
การทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง การให้นักเรียนได้เห็นเนื้อหาของวิชาที่แท้จริง
โดยการทำให้ดูรวมถึงการฝึกให้นักเรียนคิดด้วยตนเองคิดได้คิดเป็น
นอกจากนี้การเป็นครูที่ดีจะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย
รวมถึงเปิดใจกว้างยอมรับความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ
ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้ก้าวหน้า ทันกับสภาพแวดล้อมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในความพอดีพอเพียงด้วย เพื่อคนไทยจะได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
มีความเจริญทางด้านจิตใจ มากยิ่งขึ้น
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะใช้วิธีการสอนโดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้โดยสอนให้นักเรียนได้รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอมีพอกิน
รู้จักประหยัดอดออม
นอกจากนั้นจะสอนให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์วิถีชีวิตของแต่ละชุมชนของนักเรียนเอง ให้นักเรียนได้รู้จักการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดความรู้และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และจะให้ความรู้แก่นักเรียนอย่างเต็มความสามารถ
ให้คะแนนแก่นักเรียนด้วยความยุติธรรมและเป็นครูที่มีแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนทุกคน
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
จะออกแบบการสอนโดยให้นักเรียนได้ออกไปสัมผัสกับสถานการณ์จริง
ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ฝึกลงมือทำด้วยตนเอง
จะสอนให้นักเรียนรู้จักใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และสามารถก้าวทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่างๆได้
และสอนให้นักเรียนได้ศึกษาถึงวิถีการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นของตนเองรวมไปถึงภูมิปัญญาต่างๆในท้องถิ่นของตนเองและสามารถจัดทำผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองได้
บทความที่ 3
วิถีแห่งสตีฟ
จ๊อบส์ THE
STEVE JOBS WAY
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
สตีฟ จ๊อบส์ คือ
คนที่การศึกษาอย่างเป็นทางการไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ
ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์
แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการ“ฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา” กว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้
จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ผมจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา
โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ดีที่สุดและทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใดก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
เปิดโอกาสให้นักเรียนทึกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่
เพื่อเปิดโอกาสห้เขาได้แสดงความสามารถที่เขามีออกมา
3.
ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ในอนาคตผมจะเป็นครูผู้สอน
และผมจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ
สามารถนำไปใช้ได้จริงผมจะนำมาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
จะจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถของเขาให้มากที่สุดเพื่อที่จะต่อยอดความสามารถของเขา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น